ปฏิทินของฉัน

gestbook

วนอุทยานภูฝอยลม


ตำนานภูฝอยลม “ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม” ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จนทำให้ ”ฝอยลม” เริ่มน้อยลงจนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่ ในระหว่างปี 2528-3532 ส่วนราชการต่างๆ นำดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีในขณะนั้น (นายสายสิทธิ พรแก้ว) ได้ร่วมกันเคลื่อนย้ายราษฎร เหล่านั้นออกจากพื้นที่ป่า โดยจัดให้อยู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับการทำลายนิเวศปี 2533 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี ได้จัดอบรมเยาวชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อว่า “โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติให้คนรุ่นใหม่ได้หันมาสนใจ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ต่อมาในปี 2535 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและกิจกรรมอบรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” โดยใช้ชื่อย่อว่า “ย.พ.พ.” ปี 2535 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณจัดทำโครงการส่วนรวมพรรณป่าไม้ 60 พรรษามหาราชินี เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ไม้ป่าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดอุดรธานี
ปี 2541 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพันดอน-ปะโค ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยพัฒนาป่าสงวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ปี 2545 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว โดยการนำเสนอและการสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 4 ( นายธีระยุทธ วานิชชัง ) จึงได้รับอนุมัติเงินก่อสร้างบ้านพักห้องน้ำ ศาลาห้องประชุม ศาลาพักผ่อนแหล่งน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ ให้บริการ และเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เพื่อความสะดวกในการจดจำ และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็น “ โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ภูฝอยลม ” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Phu Foilom Ecotourism Project ” และในปีเดียวกันนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ( นายชัยพร รัตนนาคะ ) ได้มีแผนการที่จะพัฒนาพื้นที่ ภูฝอยลม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค จึงได้หางบประมาณสร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติม สร้างถนนลาดยาง และจัดทำโครงการอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ และเส้นทางไดโนเสาร์ โดยการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ปั้นไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ขนาดเท่าของจริง ปั้นจระเข้และเต่าโบราณ จัดทำหุ่นจำลองและวิวัฒนาการ ของลิงจนกลายเป็นมนุษย์ จัดทำนาฬิกาแดด โดยมีเส้นทางเดินเท้าและการปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณโดยรอบ ทั้งนี้ ในการจัดสร้างอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว ในเวลาดำเนินการเพียง 96 วัน ( ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2546 )

ที่มา 1. http://r05.ldd.go.th/website_station/udn/Phu%20Foilom.htm

2. http://maps.google.co.th/maps?f=d&source=s_d&saddr=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%A1&daddr=+%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87&hl=th&geocode=FVXiBQEdCf8eBiknpTJADKQjMTGgffAAQrUCHQ%3B&mra=ls&sll=17.11504,102.818315&sspn=0.182434,0.362892&ie=UTF8&t=h&z=13






ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

อุทยานน้ำตกธารงาม


วนอุทยานน้ำตกธารงาม วนอุทยานน้ำตกธารงาม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ ๗๘,๑๒๕ ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๗ ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี

จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงราย และซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้สามารถมองเห็นวิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ พรรณไม้ที่พบเห็นได้แก่ ประดู่ นนทรี ยาง กระบะตะเคียนทอง ตะเคียงเงิน และสัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมู่ป่า กระจง ค่าง อีเห็น

สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงามไม่มีบ้านพักบริการสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง และควรติดต่อขออนุญาตก่อนล่วงหน้าได้ที่ หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงาม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายจัดการวนอุทยาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๒๙๒-๓ ต่อ ๗๑๙

การเดินทาง ไปวนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสงประมาณ ๖ กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้ ๓ เส้นทาง ได้แก่

เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า-โคกลาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร

เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร

เส้นที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วัดป่าบ้านตาด


ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (อุดร-ขอนแก่น) ถึงบริเวณสี่แยกบ้านดงเค็งแล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงบริเวณวัด สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพงคอนกรีต มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่ อยู่บริเวณด้านหน้าของวัด การจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน ในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนา สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภายในวัดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ ต้องการไปปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ


ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน หรือ " หลวงตาของเรา" ถือกำเนิดในครอบครัว ชาวนาผู้มีอันจะกิน แห่งสกุล "โลหิตดี" ณ ตำบลบ้านตาดอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2456 โดยมีบิดา " นายทองดี" และมารดา "นางแพง" ได้ให้มงคลนามว่า "บัว" ในจำนวน พี่น้องทั้งหมด 16 คน เฉพาะที่ยังมี ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน 6 คน เว้นท่านเสีย เป็นชาย 1 คน หญิง 5 คน มีท่านเพียงผู้เดียว ที่ดำรงอยู่ในสมณเพศ และกอปรด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม อันประเสริฐ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวพุทธเรา อย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกประเทศ
ท่านอาจารย์บวชที่วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (ชุม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2477พระเถระผู้ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์สอนท่านปฏิบัติคือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ชมมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน(วัดป่าภูก้อน)


วัดป่าภูก้อนตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นแผ่นดินรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากความดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของป่าไม้ธรรมชาติซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งจะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน
โดยในปี พ.ศ.2527 ครอบครัวคุณโอฬารและคุณปิยวรรณ วีรวรรณ ได้เดินทางมาธุดงค์กรรมฐาน และเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่า ได้ช่วยเหลือด้านกฎหมายเป็นระเบียบของกรมป่าไม้ ให้วัดป่าสามารถอาศัยพื้นที่ป่าสงวนได้อย่างถูกต้อง ต่อมาท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย ได้เมตตาพาไปดูป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง แต่กำลังจะถูกสัมปทานตีตราตัดไม้ คณะศรัทธาจึงได้ตัดสินใจสร้างวัด โดยกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์ชาลี ถิรธัมโม (ปัจจุบันเป็นพระครูจิตตภาวนาญาณ) เป็นประธานและขวัญกำลังใจในการก่อสร้าง จนเป็นผลสำเร็จดังนี้

วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม ภายในเนื้อที่ 15 ไร่
วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้สร้างวัด
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็น “วัดป่าภูก้อน”
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เพื่อรักษาบริเวณวัดให้คงสภาพป่าอย่างสมบูรณ์ คณะศรัทธาจึงพยายามอย่างหนัก ที่จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัดด้วย จนในที่สุดได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ และได้รับขนานนาม





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วัดป่าบ้านค้อ






















วัดป่าบ้านค้อ ตั้งอยู่ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ

"พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ" เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่ ปัจจุบันมีเสนาสนะ

และสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่า

เหมาะแก่การปลีกวิเวก ของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรม ในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน

จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำ จังหวัดอุดรธานี และ

ได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฆราวาส

ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ

การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี - หนองคาย)
ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร - บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ 0-4225-0730 โทรสาร 0-4225-0731


ที่มา 1. http://www.hmaungudsw.net/wizContent.asp?wizConID=154&txtmMenu_ID=40







ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

น้ำตกยูงทอง


น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูงอำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอู มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยงามมาก ท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพันธุ์น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตก-ขนาดเล็กมี 3 ชั้น อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103 กิโลเมตร
การเดินทางจากตัวจังหวัดอุดรธานี ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือและอำเภอน้ำโสม เมื่อถึงอำเภอน้ำโสม จะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไป อีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกวนอุทยาน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช .ตลอดสายและมีสภาพดี

ที่มา 1. http://www.hmaungudsw.net/wizContent.asp?wizConID=154&txtmMenu_ID=40

2.http://maps.google.co.th/maps?f=d&source=s_d&saddr=%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87&daddr=%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88+2+%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87+%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A1&hl=th&geocode=FSCCEQEd9DgYBinZ6hDfCxokMTEwwusAQrUCHQ%3B&mra=ls&sll=17.84501,102.219279&sspn=0.181703,0.362892&ie=UTF8&t=h&z=15






ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง



อยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็น นิทรรศการถาวรซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน

ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของ บ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ฉายภาพนิ่งและการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทางไปจากตังจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายให้เหมาะกับที่บ้าน


เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายให้เหมาะกับที่บ้าน...
พูดเรื่องเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบัน หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะกับระบบเครือข่าย ที่แค่หิ้วโน้ตบุ๊กก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องต่อสายแต่อย่างใด เรื่องราวของเน็ตเวิร์กไร้สาย ก็อย่างที่ได้กล่าวกันไปแล้วใน Cover Story ฉบับก่อนๆ เรียกว่าหากใครสนใจใคร่รู้เรื่องระบบเครือข่ายไร้สาย คงจะเข้าใจกันไปพอสมควรแล้วทีนี้ก็มีบางประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับคนที่อยากนำเครือข่ายไร้สายไปประยุกต์ใช้งานด้วยตัวเอง ว่าควรต้องรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง โดยเนื้อหาในฉบับนี้ ผมขอนำคุณผู้อ่านเข้าสู่โลกไวร์เลสส์เน็ตเวิร์กกันอีกครั้ง เพื่ออัพเดตเนื้อหา รวมถึงการนำระบบเครือข่ายไร้สายไปใช้งานจริงด้วย
เลือกระบบให้ถูกต้อง
ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือที่เห็นกันบ่อยๆ ในชื่อ 802.11 นั้น เป็นหนึ่งในสมาชิกของระบบเครือข่ายตามมาตรฐานของ IEEE ซึ่ง 802.11 คือมาตรฐานของเครือข่ายไร้สาย หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Wireless Ethernet ก็ได้ เพราะจะทำงานในรูปแบบคล้ายๆ กัน สำหรับระบบ 802.11 มีการแบ่งใช้งานอยู่ 3 มาตรฐานด้วยกัน นั่นคือมาตรฐาน a b และ g ซึ่งมาตรฐาน b กับ g นั้น จะทำงานในย่านความถี่ ISM Band ที่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ส่วนมาตรฐาน a จะทำงานในย่านความถี่ ISM band 5.7 กิกะเฮิรตซ์ โดย a กับ g สามารถทำงานร่วมกันได้ ส่วน g ถือเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ b เพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลให้สูงกว่าเดิม ISM band คืออะไร? ISM ย่อมาจาก Industrial Sciences Medicine หรือคลื่นความถี่สาธารณะสำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ โดยย่านความถี่สำหรับคลื่นวิทยุในโลกนี้ จัดได้ว่ามีการควบคุมการเป็นเจ้าของหรือใช้งาน ซึ่งงานวิจัยสำหรับการขอคลื่นความถี่มาใช้งานทำได้ค่อนข้างยาก จึงมีการตั้ง ISM band นี้ขึ้นมาสำหรับการวิจัยโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็นสามย่านความถี่ คือ 900 เมกะเฮิรตซ์, 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ สำหรับ Wireless Network 802.11 จะใช้สองย่านความถี่หลัง แต่เนื่องจากความถี่ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ นั้น มีการยอมให้ใช้ได้เฉพาะบางประเทศเท่านั้น (ส่วนที่เหลืออาจจะถูกจัดสรรไปให้กับองค์กรต่างๆ ก่อนจะมีการประกาศ ISM Band ออกมา) ทำให้มาตรฐาน a ไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศบางประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เราจึงใช้งานได้เฉพาะ 802.11b และ g เท่านั้น (การพัฒนามาตรฐาน g ก็มาจากเหตุผลนี้เช่นกัน)
มาตรฐาน b และ g ต่างกันอย่างไร ?
ในที่นี้ขอพูดเพียงแค่มาตรฐาน b และ g เท่านั้น ส่วน a คงต้องตัดออกไป เพราะยังไงก็ไม่สามารถจะนำมาจำหน่ายอย่างถูกกฏหมายในบ้านเราได้ ซึ่งรายละเอียดของความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน b และ g นั้น จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง และลงรายละเอียดด้านเทคนิคค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของการโมดูเลชันที่แตกต่างกัน การเข้ารหัส รวมทั้งการคอมเพรสชัน แต่สรุปโดยรวมก็คือ มาตรฐาน b กับ g จะแตกต่างกันในเรื่องของแบนวิดธ์ในการส่งข้อมูลเป็นหลัก โดยที่มาตรฐาน b ทำได้เพียง 11 เมกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น ส่วน g สามารถทำได้ถึง 54 เมกะบิต (ซึ่งอันที่จริงความเร็ว 11 เมกะบิต และ 54 เมกะบิตที่ว่า จะมีอัตราการส่งข้อมูลได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เท่ากับว่า 11 เมกะบิต จะเหลือเพียงประมาณ 6 เมกะบิต ส่วน 54 เมกะบิต เหลือเพียง ประมาณ 30 เมกะบิต ส่วนที่เหลือจะเป็นการโอเวอร์เฮด เพื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลน้อยที่สุด) นอกเหนือจากเรื่องของความถี่แล้ว ยังมีผลในเรื่องของขอบเขตการใช้งานด้วย เช่น มาตรฐาน b จะมีรัศมีการให้บริการอยู่ที่ 100 ฟุต แต่ถ้าเป็น g จะลดลงมาอีก ซึ่งหมายความว่า g จะมีขอบเขตการให้บริการที่น้อยกว่า สาเหตุก็เพราะต้องการให้ข้อมูลส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไม่มีข้อผิดพลาด หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด เนื่องจากว่ายิ่งไกลเท่าไหร่ อัตราการรบกวนของคลื่นวิทยุก็จะมีสูงขึ้นเท่านั้น ดังกล่าว หากใช้มาตรฐาน g ในระยะทางเท่ากับ b การรับส่งข้อมูลก็อาจเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า เนื่องจากความหนาแน่นของข้อมูลของมาตรฐาน g นั้น มีมากกว่า b หลายเท่า
ย่านความถี่ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม
ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับเครือข่ายไร้สายคือ การรบกวนกันของคลื่นสัญญาณ โดยเฉพาะย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์นั้น มีอุปกรณ์มากมายที่ใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตู้ไมโครเวฟ โทรศัพท์บ้านไร้สาย และอุปกรณ์ Bluetooth ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือว่าพีดีเอ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่กล่าว ต่างก็สามารถรบกวนการส่งสัญญาณของเครือข่ายไร้สายได้ แถมที่หนักหนาสาหัสก็คือ หากมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ใกล้เครือข่ายไร้สายมากๆ เครือข่ายไร้สายนั้นๆ ก็อาจจะใช้งานไม่ได้ทีเดียว แล้วเราจะทำอย่างไรดี? อันที่จริงจากการพัฒนามาโดยตลอดทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดน้อยลง เช่น โมโครเวฟก็มีการซิลด์ที่ดีขึ้น มีการรั่วไหลของคลื่นไมโครเวฟน้อยลง จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย แต่ที่ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันก็คือ คลื่นบลูทูธ และโทรศัพท์บ้านไร้สายในย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ การงดใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ในขอบเขตการใช้งานเครือข่ายไร้สาย อย่างไรก็ตาม ยังโชคดีอยู่บ้างที่ระบบจะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง หลังจากที่ปิดหรืองดใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไปแล้ว ไม่เพียงแค่อุปกรณต่างระบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้งานต่างมาตรฐานกันด้วย เช่น หากต้องการนำมาตรฐาน g ไปใช้กับ b ประสิทธิภาพก็จะเหลือเพียง b เท่านั้น ดังนั้น การใช้งานจึงควรจะใช้ร่วมกับมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด
การวางระบบเครือข่ายไร้สาย
ทีนี้มาดูกันครับว่า เราจะวางระบบไร้สายกันยังไง เพราะระบบไร้สาย จะแตกต่างจากระบบที่ใช้สายในบางส่วน อย่างที่เรารู้กันว่า เน็ตเวิร์กตามบ้านสามารถเชี่อมต่อกันระหว่างเครื่อง หรือจะใช้ฮับ (Hub) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ซึ่งในระบบไร้สายเองก็เช่นกัน ที่มีการเชื่อมต่ออยู่สองแบบ นั่นคือแบบที่เรียกว่า Ad Hoc Network และ อีกแบบเรียกว่า Infrastructure Network โดยทั้งสองแบบนี้ จะแตกต่างกันในเรื่องของการทำงานและโครงสร้างในการรับส่งข้อมูล สำหรับ Ad hoc network นั้น เปรียบเสมือนการเชื่อมต่อระหว่างการ์ด Wireless เข้าหากันโดยตรง เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ Direct ก็ได้ ส่วน Infrastructure จะเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางแอ็กเซสพอยนต์หรือจุดให้บริการในการเชื่อมต่อ ที่เป็นเหมือนฮับหรือสวิตช์นั่นเอง ซึ่งแอ็กเซสพอยนต์นี้ สามารถต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์กที่มีอยู่เดิมได้ และสะดวกสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์กเดิมกับเครือข่ายไร้สายอันใหม่ สำหรับการใช้งานในวงเน็ตเวิร์กภายในบ้าน หากคุณมีระบบเน็ตเวิร์กอยู่แล้ว ก็สามารถติดตั้ง Access Point เข้ากับระบบเครือข่ายได้เลย โดยเชื่อมต่อ Access Point เหมือนกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์กตัวหนึ่ง เพียงเท่านี้ ก็สามารถให้บริการอุปกรณ์ไวร์เลสส์อื่นๆ ได้แล้ว แต่หลังจากการติดตั้ง Access Point เราต้องระวังอยู่อย่างหนึ่ง เพราะโดยปกติแล้ว แอ็กเซสพอยนต์ที่มาจากโรงงานจะยังไม่มีการเซตค่าความปลอดภัยให้ ดังนั้นใครก็ตามที่อยู่ในรัศมีทำการของ Access Point ก็สามารถจะใช้บริการได้ทันที ทางที่ดีจึงควรจะเลือกเซตค่าการป้องกันให้กับแอ็กเซสพอยนต์เสียก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะมีซอฟต์แวร์แถมมาพร้อมกับแอ็กเซสพอยนต์ด้วย เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยมากขึ้น การติดตั้ง Access Point มีข้อควรระวังคือ เรื่องของการกระจายสัญญาณ เพราะการรับส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุนั้น ย่อมจะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและสิ่งกีดขวาง ที่จะทำให้คลื่นวิทยุส่งไปไม่ถึง โดยเฉพาะการส่งข้อมูลระหว่างชั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ มักจะมีการฝังวัสดุที่เป็นเหล็กเอาไว้ภายใน ซึ่งสามารถดูดซับคลื่นวิทยุเอาไว้ ทำให้เคลื่นวิทยุไม่สามารถส่งผ่านตัวกลางเหล่านี้ได้อย่างสะดวก เรียกว่าหากผนังห้องมีการฝังเหล็กเส้นเอาไว้จำนวนมาก คลื่นวิทยุก็จะไม่สามารถส่งผ่านผนังไปได้ ปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือ การติดตั้งแอ็กเซสพอยนต์ที่อยู่คนละชั้นกับเครื่องที่ต้องการใช้งานแล้วเกิดปัญหา เพราะด้วยขนาดของเพดานที่กั้นกลางระหว่างชั้น จะทำให้สัญญาณส่งไปไม่ถึงนั่นเอง ในกรณีที่คุณติดตั้ง Wireless Network ภายในบ้าน มีความสะดวกอยู่อย่างหนึ่งคือ คุณไม่จำเป็นต้องเดินสายไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ติดตั้งแอ็กเซสพอยนต์และเสียบปลั๊กเพื่อใช้งาน ก็สามารถจะเชื่อมต่อเข้าหากันได้ทันที โดยอาจจะกำหนดหมายเลขไอพีให้กับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบ โดยไม่จำเป็นต้องต่อสายเน็ตเวิร์กเข้ากับแอ็กเซสพอยนต์แต่อย่างใด ซึ่งแอ็กเซสพอยนต์จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เอง ข้อควรระวังก็คือ เรื่องของสัญญาณที่ต้องครอบคลุมทุกจุดที่เราต้องใช้งาน
เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ฉับไวมากกว่าเดิม โดยเฉพาะ ADSL ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้าน โดยเราสามารถแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้กับคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องผ่านทางไวร์เลสส์ได้ สิ่งที่จำเป็นก็คือ การเลือกใช้โมเด็มแบบเราเตอร์ที่สามารถต่อกับระบบเครือข่ายได้เลย โดยไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วนำแอ็กเซสพ้อยนต์ ไปต่อกับโมเด็มเราเตอร์ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้บริการไวร์เลสส์อินเทอร์เน็ตภายในบ้านได้แล้ว โดยที่คุณไม่ต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่หากเราไม่มีโมเด็มแบบเราเตอร์ งานนี้ก็ต้องอาศัยพึ่งพาคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นแม่ข่ายในการต่อใช้งาน และให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายกันละครับ ซึ่งวิธีการก็คือ ต่อแอ็กเซสพ้อยนต์เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับโมเด็มผ่านทางช่องทางอีเธอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นตลอดเวลายามที่ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย
ราคาและค่าใช้จ่าย
ข้อดีของการใช้งานเครือข่ายแบบไร้สายก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิลไปมาระหว่างห้อง เพียงแค่มีจุดบริการของแอ็กเซสพอยนต์เท่านั้นก็ใช้งานได้แล้ว ซึ่งราคาโดยประมาณของแอ็กเซสพอยนต์ จะอยู่ที่ราวๆ 4-5000 บาท ส่วนราคาของการ์ดเน็ตเวิร์กนั้น โดยรวมก็ไม่ได้สูงมากนัก สำหรับเครือข่ายแบบ b จะอยู่ที่ประมาณ 1000 ถึง 2000 บาท ส่วนแบบ g นั้นจะสูงขึ้นมาหน่อย คือราวๆ 1500 ถึง 3000 บาท และการ์ดเน็ตเวิร์กก็มีขายทั้งที่เป็นแบบ PCI และ PCMCIA การ์ด เราจึงเลือกซื้อมาติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเดสก์ทอปหรือว่าโน้ตบุ๊ก สำหรับโน้ตบุ๊กส่วนใหญ๋ในปัจจุบัน จะยังคงติดการ์ดไวร์เลสส์มาตรฐาน b มาให้เป็นส่วนมาก แต่สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งออกมา อาจจะติดแบบ b หรือ g มาให้ ซึ่งก็นับว่าสะดวกมาก เพราะคุณไม่จำเป็นต้องอัพเกรดการ์ดเน็ตเวิร์กเพิ่มเติมในภายหลัง

อินเตอร์เน็ตกับการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อปวงชน

จากคำกล่าวของ โรเบิร์ต ไรช์ (2534) เกี่ยวกับภารกิจของชาติ ว่า “ เรากำลังดำรงชีวิตฝ่ากระแสคลื่นของความเปลี่ยนแปลงซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจและการเมืองในรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่กำลังจะมาถึง ทรัพย์สินในขั้นปฐมภูมิของแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับทักษะและไหวพริบและพลเมืองในชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภารกิจพื้นฐานทางด้านการเมืองของทุกชาติก็จะต้องรับมือกับอิทธิพลต่าง ๆ ของเศรษฐกิจโลกที่จะดึงสังคมให้เสียศูนย์โดยการเข้าไปกัดกร่อนทำลายสายใยซึ่งโยงยึดพลเมืองของชาติเข้าไว้ด้วยกันส่งผลให้ผู้ที่มีทักษะและไหวพริบปฏิภาณมากที่สุดเป็นผู้ที่มั่งคั่งยิ่งไปกว่าเดิม ขณะที่ประชากรผู้ด้อยในทักษะต้องเผชิญกับสภาวะมาตรฐานการครองชีพที่เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ,2543:27) ทำให้เกิดมุมมองว่าประเทศที่ปรับเปลี่ยนทักษะและไหวพริบของพลเมืองในชาติทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาการ ย่อมสร้างความมั่งคั่งและความร่ำรวย กว่าประเทศที่ด้อยประสิทธิภาพต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ประเทศต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญที่ขะพัฒนาประเทศเพื่อให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการเข้าสู่เวทีการแข่งขันเสรีและคงความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการต่อรอง . ประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาประชากรในประเทศ ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อน เพราะถ้าบุคคลอันเป็นองค์ประกอบของส่วนรวม ไม่ได้รับการพัฒนาแล้ว ส่วนรวมจะเจริญและมั่นคงได้ยาก การที่บุคคลจะพัฒนาได้ก็ด้วยปัจจัยประการเดียว คือ การศึกษา การศึกษานั้นแบ่งเป็นสองส่วน คือ การศึกษาด้านวิชาการส่วนหนึ่ง กับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ดีใฝ่เจริญมีปกติละอายชั่วกลัวบาปส่วนหนึ่ง การพัฒนาบุคคลจะต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งสองส่วน เพื่อให้บุคคลได้มีความรู้ไว้ใช้ประกอบการและมีความดีไว้เกื้อหนุนการประพฤติปฏิบัติทุกอย่างให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร และอำนวยประโยชน์ที่พึงประสงค์ ” ( วิชัย วงษ์ใหญ่ , 2543) และได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษา โดยออกเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา ทำให้ระบบการศึกษา แนวการจัดการศึกษา และ การบริหารการจัดการศึกษา เป็นแนวทางการปฏิรูปใหม่ ซึ่ง พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาตลอดชีวิต โดยกำหนดให้จัดการศึกษาให้ยึดหลัก มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและ ได้กล่าวถึงรูปแบบในการจัดการศึกษา 3 รูปแบบไว้ใน มาตรา 15 คือ การศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยการที่จะพัฒนาประชาชนในชาติโดยใช้การศึกษาเป็นกลไกลในการขับเคลื่อนนั้นจะใช้เพียงการศึกษารูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง อาจเกิดข้อจำกัดในการเรียนรู้หรือการศึกษาของประชาชนได้ ควรมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 รูปแบบ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเข้าศึกษาตามความพร้อมและตามศักยภาพของตนเอง ดังความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 มาตรา 4 กำหนดว่า การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต. และจากมาตรา 22 ที่ยึดหลักการเกี่ยวกับผู้เรียนว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ.วิสัยทัศน์ด้านการศึกษาไทยที่กำหนดใน แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) ในส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิต พอสรุปได้ดังนี้ (รุ่ง แก้วแดง ,2543 : 46- 58) คือ 1. พัฒนาคนไทยให้มีความรู้ความสามารถทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกยุคโลกาภิวัตน์ เช่น ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ เห็นความสำคัญของวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่กับภูมิปัญญาชาวบ้าน 2. วิสัยทัศน์ที่พึงประสงค์ คือ ให้การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และ รักที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจากวิสัยทัศน์ของการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ดังกล่าว ประเทศไทย จึงให้ความสำคัญที่ต้องนำเทคโนโลยีส่งเสริมในด้านการศึกษาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการพัฒนาทางด้านความรู้ ความสามารถทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ และกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 มาตรา 66 คือ ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต. เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในอดีตที่หน่วยงานทางการศึกษานิยมกันมากที่สุด ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ และในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก และได้มีการนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันนี้ เรียกว่า เครือข่าย (Network) และในบรรดาเครือข่ายต่าง ๆ ของโลกกล่าวได้ว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) นับว่าเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดเนื่องจากมีคอมพิวเตอร์มากว่า 50 ล้านเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายนี้ ได้มีการประมาณว่าจะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มากกว่า 300 ล้านเครื่องทั่วโลกในปี ค.ศ. 2002 ( กรภัทร์ สุทธิดารา , ไม่ระบุปีที่พิมพ์ : 134 ) และได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศระบบ อินเตอร์เน็ต มาช่วยในการสร้างความรู้เชื่อมโยงแหล่งความรู้ เพื่อลดช่วงและระยะเวลาในการเรียนรู้ และส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต.ดังนั้น อินเตอร์เน็ต (Internet) ก็คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกที่นำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยของตนมาเชื่อมต่อกันปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศระบบอินเตอร์เน็ตมาช่วยในการสร้างความรู้เชื่อมโยงแหล่งความรู้เพื่อลดช่วงและระยะเวลาในการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ สืบค้นหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง จากเครือข่ายของความรู้ คลังความรู้ที่ถูกสร้างและจัดเก็บบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตในขณะนี้มีปริมาณมากที่สุดในบรรดาสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ซึ่งรวมกันอาจยังไม่มากมายเท่ากับข้อมูลที่บรรจุอยู่ในอินเตอร์เน็ต เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลระดับโลกที่มีราคาถูกที่สุด (กรภัทร์ สุทธิดารา ,ไม่ระบุปีที่พิมพ์ : 137) จากที่กล่าวมา บทบาทของคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจึงเข้ามามีความสำคัญต่อการสร้างความรู้อย่างมาก ฉะนั้นบทบาทในการเรียนรู้ในอนาคตคงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มากขึ้น โดยใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้น กระผมจึงคิดว่า สื่อการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็น บทเรียนต่าง ๆ หนังสือทั้งวิชาการ บันเทิงคดี และ สารคดี ควรต้องมีการจัดทำในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เปิดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ สามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองทางคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ดังขอเสนอรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตที่สอดคล้องกับระบบอินเตอร์เน็ต 4 รูปแบบดังนี้ คือ1. E – Learning ( Electronics – Learning )2. E – Book ( Electronics – Book )3. E – Library Centre ( Electronics – Library Centre )4. E – Teacher ( Electronics – Teacher )

E – Learning หมายถึง การเรียนรู้โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายสัญญาณผ่านดาวเทียม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้เรียนสามรถศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ตามเนื้อหาที่ต้องการและสนใจ เช่น หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาสามัญ และวิชาชีพ ความรู้ทั่วไปทั้งทางด้านสารคดี และ บันเทิงคดี กิจกรรมการเรียนการสอนที่หน่วยงานทางการศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของกรมสามัญศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน , มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือ โครงการการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต.

E – Bookหมายถึง การเก็บเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ อาทิเช่น เนื้อหาทางวิชาการ สารคดี และบันเทิงคดี ในรูปแบบข้อความอิเล็กทรอนิกส์ อยู่บนเว็บเพ็จ โดยผู้เรียนสามารถเปิดศึกษาจากคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ บันทึกลงบนแผ่นซีดีรอม ซึ่งเปิดศึกษาโดยใช้เครื่องเล่นซีดีรอมหรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้หนังสือประเภทต่างได้มีการผลิตบันทึกเนื้อหาลงบนแผ่นซีดี ง่ายต่อการจัดเก็บรักษาและสะดวกต่อการพกพาที่จะนำไปศึกษานอกสถานที่ E – Library Centre หมายถึง ห้องสมุดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บเฉพาะเอกสารสิ่งพิมพ์ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เช่น เทปคาสเซ็ต ม้วนวีดีโอ แผ่นซีดี โดยให้ผู้ที่เป็นสมาชิกห้องสมุด หรือ ผู้สนใจสามารถศึกษาสาระเนื้อหาหาทั้งวิชาการ สารคดีและบันเทิงคคี โดยนำมาเปิดศึกษาจากเครื่องเล่นซีดีรอมหรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งศึกษาจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ขณะนี้ยังไม่มีสถานที่เฉพาะส่วนมากจะจัดอยู่ในบางมุมของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. E – TEACHERหมายถึง การใช้ Web – based Course ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนพร้อมทั้งประเมินผลการเรียนรู้ได้ทันที โดยเริ่มจากการศึกษาหาความรู้ในเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซค์ การถาม- ตอบทางระบบกระดานถาม – ตอบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งทำแบบทดสอบพร้อมแสดงผลประเมินผลของเนื้อหาทันที่เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จตามเวลาที่กำหนด ซึ่งขณะนี้ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดโครงการการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ชุดภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยครูผู้สอนเป็นโปรแกรมบทเรียนทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น ๆ ที่ใช้บันทึกเนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน เช่น เทปคาสเซ็ต , เทปวิดีโอ และ แผ่นซีดีรอม เช่น โปรแกรมการเรียนการสอนในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากเทปวิดีโอ หรือแผ่นซีดีรอม , โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ Follow me เป็นต้นโดยสรุปแล้ว นับแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา วิถีของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันกันอย่างเสรีในเวทีโลก ทำให้นานาประเทศต้องเตรียมความพร้อมต่อการเข้าสู่ยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ได้เปรียบต่อสภาวะการแข่งขันกันอย่างเสรีในทุกด้าน ประเทศไทยจึงเตรียมความพร้อมประชาชนให้มีสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและซับซ้อนได้โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประชาชนจึงได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540 – 2544 ) และ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่เน้นในเรื่อง การพัฒนาคน รวมทั้งปฏิรูประบบการศึกษาโดยออกกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในมาตราของ พระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะพัฒนาปวงชนในประเทศให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเฉพาะในด้านการใช้เครือข่ายทางอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มาช่วยเสริมสร้างความรู้เชื่อมโยงแหล่งความรู้เพื่อลดช่วงและระยะเวลาในการเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมวิถีการเรียนรู้ของปวงชนให้เกิดความต่อเนื่องตลอดชีวิตด้วยตัวของเขาเอง ตามความพร้อมและความต้องการต่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

ที่มา http://www.sema.go.th/node/485

การใช้อินเตอร์เน็ตกับการศึกษา

การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งการบ้าน นัดหมาย อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งการแจกจ่ายที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ หรือที่อยู่บนเวิลด์ไวด์เว็บ เนื่องจากมีความสะดวก คือใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ผู้รับไม่จำเป็นต้องรอรับข้อมูลอยู่เหมือนการใช้โทรศัพท์ นอกจากนี้ ยังมีบริการทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักการศึกษาอีกประเภท คือ LISTSERV ซึ่งเป็นบริการที่อนุญาตให้นักการศึกษาสามารถสมัครเป็นสมาชิก ของกลุ่มสนทนา(Discussion Group) ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน โดยผู้สนใจจะต้องส่งอีเมล์ไปยังที่อยู่ของกลุ่มสนทนา ซึ่งจะนำที่อยู่อีเมล์ของผู้สนใจไปใส่ไว้ใน ลิสต์รายชื่อสมาชิก (Mailing list) เมื่อมีผู้ส่งข้อความมายังกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะทำการคัดลอกและจัดส่งข้อมูลนี้ไปตามลิสต์รายชื่อสมาชิกที่มีอยู่ จะทำให้เรารับทราบข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา ได้เรียนรู้ทัศนะจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ และได้แสดงข้อคิดเห็นส่วนตัว และได้ซักถามข้อสงสัย หรือขอความช่วยเหลือต่างๆ จากสมาชิกในกลุ่ม

การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นหาข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เนื่องจากข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันมีมากมายและกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ดังนั้นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้บริการอินเตอร์เน็ตและเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อการค้นหาข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยได้หลายวิธีด้วยกัน วิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ
การสืบค้นทางเวิลด์ไวด์เว็บ เนื่องจากสามารถรองรับข้อมูลได้หลายๆ รูปแบบ และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกันให้เราได้ศึกษาอย่างสะดวกสบาย และมีซอฟต์แวร์ สำหรับอ่านข้อมูลในเว็บที่สมบูรณ์แบบมากการค้นหาข้อมูล ในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยค้น
(Search engine) ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับอ่านข้อมูลในเว็บ (Web Browser) ส่วนใหญ่บริการเชื่อมต่อกับเครื่องมือเหล่านี้ไว้ให้แล้ว ผู้ใช้เพียงแต่กดปุ่มสำหรับเรียกเครื่องมือนี้ขึ้นมา พิมพ์คำ หรือข้อความที่ต้องการสืบค้นลงไป เครื่องก็จะแสดงผลการค้น โดยการแสดงชื่อของข้อมูลที่เราต้องการศึกษา
(Web Page) ซึ่งถ้าต้องการเข้าไปอ่าน ก็สามารถกดลงไปบนชื่อนั้นได้เลย ข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏบนจอไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง ใดในโลกก็ตาม
นอกจากนี้การเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่กับเครือข่าย และมีการอนุญาตให้เข้าไปใช้ได้ เช่น การติดต่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดเพื่อค้นหา ยืม ต่อเวลาการยืม หรือการจองหนังสือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ก็เป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันมีห้องสมุดหลายแห่งเปิดให้บริการบริการนี้สามารถเข้าใช้ได้โดยการ ใช้คำสั่ง Telnet และตามด้วยชื่อเครื่อง หรือหมายเลขของเครื่องแล้วพิมพ์ชื่อ
2ในการขอเข้าใช้ (Login) บางเครื่องอาจต้องใช้รหัสลับ (Password) ด้วย หลังจากนั้นต้องทำตามคำสั่งที่ปรากฏบนจอ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละระบบของเครื่อง นอกจากห้องสมุดแล้ว เราอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วย โดยในบางฐานข้อมูล นอกจากผู้ใช้จะเข้าไปค้นหาบทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ แล้วยังสามารถใช้บริการพิเศษอื่น ๆ เช่น บริการส่งอีเมล์แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับบทความใหม่ ๆ ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาที่สนใจเล่มล่าสุด โดยต้องมีการกำหนดชื่อของวารสารที่สนใจไว้ล่วงหน้า หรือ มีบริการส่งแฟกซ์ บทความนั้นให้แก่ผู้ใช้ที่สนใจ

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่
ปัจจุบัน มีการใช้อินเตอร์เน็ตในหลักสูตรกิจกรรมการสอนในหลาย ๆ ประเทศ เช่น
ในสหรัฐอเมริกา ใช้กิจกรรมการสอนในโครงการร่วมระหว่างห้องเรียนจาก 2 โรงเรียน ขึ้นไป(Classroom Exchange Projects) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลในวิชาทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางสังคม และที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ เนื่องจากโครงการเหล่านี้ได้รวมเอากิจกรรมการเรียนอื่น ๆ เอาไว้ อาทิเช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย การสอบถาม ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การรับรู้ทางสังคม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนแบบออนไลน์ และการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ รวมทั้งกิจกรรมการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนักเรียน จากต่างห้องต่างโรงเรียน

การศึกษาทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต
การศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก
ผู้เรียน และผู้สอนมีการนัดหมายเวลาที่แน่ชัด ซึ่งต้องมีเครื่องมือ และอุปกรณ์เพิ่มเติม ในการรับส่งสัญญาณ ภาพ และเสียง เช่น กล้องถ่ายภาพ ไมโครโฟน ลำโพง และซอฟต์แวร์พิเศษทั้งในส่วนของผู้สอน และในส่วนของผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้ทันที โดยผู้สอนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังห้องเรียนจริง เพียงมาที่สถานที่ที่จัดเตรียมไว้ และสอนผ่านจอคอมพิวเตอร์ ส่วนผู้เรียนก็ไม่ต้องเดินทางมาหาผู้สอน เพียงไปยังห้องเรียนที่ได้จัดเตรียมไว้ และเรียนจากจอคอมพิวเตอร์ เมื่อมีข้อสงสัยก็สามารถที่จะถามผู้สอนได้ทันที ส่วนการศึกษาทางไกลในลักษณะที่สอง ผู้สอนจะต้องเตรียมเอกสาร การสอนไว้ล่วงหน้า และเก็บข้อมูลการสอนนี้ไว้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถจะเรียนจากทุกที่ที่สามารถเข้าใช้เครือข่ายได้ในเวลาใดก็ได้ เอกสารการสอนก็ทำได้หลายลักษณะ แต่ที่นิยมทำกันก็คือ ในลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนบนเว็บ หรือ CAI on Web ถ้าผู้เรียนมีข้อสงสัยใด ๆ ก็สามารถอีเมล์ไปสอบถามจากผู้สอนได้

การเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ในประเทศไทยการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะของการเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ให้แก่สมาชิกเครือข่าย หรือประชาชนผู้สนใจทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยว กับอินเตอร์เน็ต โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาต่างๆ ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเตรียมให้มีความพร้อมในการที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใน การค้นคว้าวิจัย หรือทำรายงาน ในรายวิชาต่าง ๆและที่สำคัญ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษา ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ ในลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น จากการอภิปรายผ่านอีเมล์ การเสนอความคิดเห็นในกลุ่มสนทนา หรือการนำเสนอข้อมูลบนเว็บ เป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตกับการศึกษา
1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ
ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้
จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของ
กันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก
ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดาน
นี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ ้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อม
โยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบน
อินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร
(Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้น
จนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia)ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่าย
นี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกัน
และพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบน
เครือข่าย
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอน
ย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำ
ให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้
อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็น
ทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ใน
ต่างมาวิทยาลัยได้

หลักการใช้อินเทอร์เน็ต
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต โดยใช้หลัก SMART ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
(S) Safety ความปลอดภัย
(M) Manners ความมีมารยาท
(A) Advertising and Privacy Protection การรักษาสิทธิส่วนบุคคลในการเลือกรับสื่อโฆษณา
(R) Research ความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์
(T) Technology ความเข้าใจเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตสิ่งที่จำเป็นต้องรู้
บนอินเทอร์เน็ตProtocol
** โปรโตคอล (Protocol) คือ ระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ

ข้อพึงระวังในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
1. การสืบค้นข้อมูล เนื่องจากข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กร หรือสถาบันใด และเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้เครือข่ายทุกคนมีสิทธิที่นำเสนอความคิดเห็น เผยแพร่ข่าวสารอย่างเป็นอิสระ ดังนั้น ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลและใช้วิจารณญาณในการเลือกสรรเอาเอง
2. การติดต่อสื่อสาร แม้ว่าการส่งอีเมล์จะเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่แสนสะดวกสบาย แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง คือ ผู้รับไม่สามารถสังเกตการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง หรือน้ำเสียง ประกอบของผู้ส่งได้เลย ดังนั้น การเขียน หรือ พิมพ์ข้อความใด ๆ ในอีเมล์จึงจำเป็นต้องเขียนให้ชัดเจน กระชับ และถูกกาลเทศะ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้
3. การเผยแพร่ข้อมูล เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายไร้พรหมแดน ที่ไม่มีเจ้าของ และไม่ขึ้นกับกฎระเบียบขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ดังนั้น ผู้ใช้เครือข่ายที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือนำเสนอข้อคิดเห็นใด ๆ บนเครือข่ายจึงจำเป็นจะต้องมีจรรยาบรรณในการใช้อินเตอร์เน็ต โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เหมาะสม คลาดเคลื่อน หรือที่อาจกระทบกระเทือน หรือสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นได้

ที่มา http://images.minint.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SagXCQoKCGQAAA4Bw901/Assignment%231-51010523019.doc?nmid=213244893

อินเตอร์เน็ตไทยกับการศึกษา

ในช่วงที่ผ่านมาแม้จำนวนผู้ใช้งานในบ้านเราจะเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด ในช่วงรอยต่อของปีที่ผ่านมา แต่มันก็ยังเป็นตัวเลขผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต่ำมากอยู่ดี หากจะเทียบกับขนาดของประเทศหรือจำนวนประชากรจำนวนผู้ ใช้งาน 2.3 ล้านคน ที่เติบโตมาเท่าตัวนั้นยังต่ำมากหากเทียบกับประชากร 61-62 ล้านคนของเรา และถึงแม้จะมีตัวเลขประมาณการต่อไปว่าสิ้นปีนี้เราจะก้าวกระโดดได้อีกเป็น 4.6 ล้านคน
สัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านเราก็ยังมาจากภาคการศึกษา แต่อย่างน้อยก็เป็นแนวโน้มที่ดีว่าเราเริ่มมีอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ใช้งานกันมา 5-6 ปี เราสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้และใช้งานอินเทอร์เน็ตออกไปกว่า 1 ล้านคนแล้ว และคนกลุ่มนี้หลัง
จากเข้าไปทำงานตามหน่วยงานต่างๆ ก็น่าจะสามารถผลักดันให้องค์กรเหล่านั้นตื่นตัวและปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีแบบนี้กันมากขึ้น โดยส่วนมากกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 30 ปีลงมา จากสภาพแวดล้อมหน้าที่การงาน การศึกษาจะกึ่งๆ บังคับให้เขาจำเป็นต้องเข้าหาเรื่องนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กลุ่มคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปอาจจะมีโอกาสน้อยกว่า ผมจึงแบ่งปัญหานี้ออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ 1. กลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงาน 2. ปัญหาของกลุ่มคนที่ยังอยู่ในวัยศึกษา
สำหรับในกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานนั้น เนื่องจากว่าบริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานต่างๆ ก็ยังมีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในองค์กรกันน้อย จากตัวเลขที่ได้มาเมื่อปลายปีที่แล้ว ในบ้านเรามีบริษัทจดทะเบียนอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 5 แสนกว่า แต่ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตจริงๆ น่าจะอยู่ในหลักหมื่น คำถามก็คือว่า ทำไมบริษัทห้างร้านและหน่วยงานต่างๆ ที่เหลือถึงยังไม่ได้นำอินเทอร์เน็ตเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กร ซึ่งเรื่องนี้คงต้องให้ความรู้ การนำเสนอ และการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย จากการนำเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้ให้กับผู้บริหารและเจ้าของกิจการให้เข้าใจมากขึ้น และผู้ประกอบกิจการด้านอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ISP, Data Center, Web Developer, Consultant, System Integrator คงจะพยายามที่จะทำงานในส่วนนี้อยู่ทุกวันแล้ว
จำนวนประชากรที่เป็นนักเรียนนักศึกษา พบว่าหากจะนับรวมตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ไปจนถึงขั้นอุดมศึกษานั้น ในประเทศเรามีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 15 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีประมาณ 1 ล้านคนเศษ ที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา ประมาณ 3.5 ล้านคน อยู่ในชั้นมัธยมศึกษา และเกือบประมาณ 11 ล้านคน อยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ในขณะที่เรามีจำนวนสถานศึกษา ดังนี้ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษามีอยู่ไม่ถึง 200 แห่ง สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษามีอยู่ไม่ถึง 4,000 แห่ง และสถานศึกษาระดับประถมศึกษาซึ่งมีมากที่สุด โดยมีจำนวนสถานศึกษาถึงเกือบ 40,000 แห่งทั่วประเทศ
ถึงแม้ว่าจากตัวเลขผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะบ่งบอกว่าครึ่งหนึ่ง ของผู้ใช้งานมาจากภาคการศึกษา นั่นคือแสดงว่าประมาณ 1 ล้านคนเศษๆ เป็นผู้ใช้งานที่เป็นนักเรียน นักศึกษาก็ตาม และจำนวนผู้ใช้งาน 1 ล้านคนเศษ ไปเปรียบเทียบกับจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 15 ล้านคน ดูแล้วเป็นจำนวนน้อยมากทั้งที่การเรียนการสอน การใช้งานอินเทอร์เน็ตน่าจะเป็นเรื่องที่กึ่งบังคับให้มีในทุกสถาบันอยู่แล้ว
ในบ้านเราก็มีโครงการหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับการศึกษาอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาเข้าด้วยกัน รวมถึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ชื่อว่า Uninet หรือแม้กระทั่งโครงการระดับโรงเรียน เช่น Schoolnet ก็น่าจะผลักดันให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านเราโตไปได้อย่างมาก แต่ทั้งสองโครงการก็ยังต้องการการพัฒนาอีกมากในการที่จะครอบคลุมฐานการใช้งานโรงเรียน และมหาวิทยาลัยได้
จากแนวความคิดใหม่ของคณะผู้บริหารรัฐบาลชุดนี้ ทำให้คิดขึ้นมาเป็นประเด็น สองสามประเด็นหลักที่ถูกจุดชนวนขึ้นมาแล้วนั้น น่าจะต้องถูกรีบนำไปสานต่อให้เกิดความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ เช่น แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา การรวมกิจการของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย แนวคิดด้านไอทีแห่งชาติ หรือโครงการต่าง ๆที่ต่อเนื่องกับเรื่องของการศึกษาและเทคโนโลยี ถ้าทุกอย่างประสานสอดคล้องกันไปด้วยดีและสามารถที่จะผลักดันเรื่องการศึกษาให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาด้านการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งหากเราไปถึงจุดที่การศึกษาไล่ทันความต้องการด้านตลาดแล้ว การศึกษาและเทคโนโลยีเป็นสิ่งคู่กันและจะกลายเป็นรากฐานอันสำคัญที่จะนำไปพัฒนาด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ อีกมากมาย

ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-7272.html

บทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการศึกษา

อาจกล่าวได้ว่า “อินเทอร์เน็ต” เป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลกในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็น “ปรากฏการณ์” (Phenomenon) ของยุคสมัยประกอบด้วย
- ความที่อินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยีเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ที่ใช้ง่ายทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ความที่อินเทอร์เน็ตเป็น “เครือข่ายแห่งเครือข่าย” (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น
- จุดดึงดูดของอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web (WWW) ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนต่อโลกได้ง่ายพอๆ กับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator URL) และ Search Engines ต่างๆ
- การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็วและความแม่นยำ
- การแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion Groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น
- เทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้าไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัด
- พัฒนาการทางเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตยังก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น การใช้ Internet Phone , การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
- อินเทอร์เน็ต เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในรูปแบบของ “วาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Commerce) พร้อมๆ กับเป็น เครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ในวงการศึกษา
- รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปเป็นชั้นๆ ด้วยคุณสมบัติของ Web Browser ในอินเทอร์เน็ต

ที่มา http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-521/Trang/Group-03/it4.htm

อินเตอร์เน็ตกับการศึกษา

อินเทอร์เน็ตนับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในยุคของสังคมข่าวสาร อย่างเช่นปัจจุบันมันเป็นอภิมหาเครือข่ายระดับโลกที่มีกำลังการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการคอมพิวเตอร์ได้คาดการเอาไว้ว่า อินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายเดียวที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงคนทั่วทุกมุมโลก ให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำลายพรมแดนที่ขวางกั้นระหว่างประเทศ ไร้ซึ่งคำว่าระยะทางกับการเวลามาเกี่ยวข้อง จึงพอพิสูจน์ได้ว่า อินเทอร์เน็ต คือ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับยุคของโลกไร้พรมแดน ที่กำลังทวีความสำคัญยิ่งในหน่วยงานต่างๆและวงการการศึกษารวมไปถึงบุคคลภายนอกที่สนใจอย่างแท้จริง
1. การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการติดต่อสื่อสาร อภิปราย ถกเถียง แลกเปลี่ยนและสอบถามข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นทั้งกับผู้สนใจศึกษาในเรื่องเดียวกัน หรือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
2. การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
วิธีใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล วิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ ผ่านทาง เวิลด์ ไวด์ เว็บ เพราะการที่เว็บนั้นต้องรองรับข้อมูลแบบสื่อผสม ( มัลติมีเดีย ) และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกันให้เราได้ศึกษาอย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังรวบรวมอื่นๆ ทางอินเทอร์เน็ต
3. การประยุกต์อินเทอร์เน็ตทางการจัดกิจกรรมการสอนของหลักสูตรเดิม เช่น การรับส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต การค้นคว้าข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เพื่อจัดทำรายงานและอื่นๆ
4. การศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน การเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนผู้สอนและข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ของผู้เรียนและผู้สอน

ความเป็นมาและความหมายสำคัญของปัญหา
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตปัจจุบันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษาทุกระดับไม่ว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดระบบการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น เห็นได้ว่าในปัจจุบันทุกโรงเรียนได้มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึงอินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IPมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นข้อมูล การติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ ( information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นต้น
อินเทอร์เน็ต มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายไม่ว่าจะอยู่ ณ มุมใดของโลกได้ตลอดเวลา และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นก็มีคุณภาพ เพราะทันสมัยทันต่อเหตูการณ์
ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาว่าควรมีการศึกษาถึงการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทราบถึงการใช้งานอย่างมีประสิทธภาพว่าในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นให้บุคลากรภายในสถานศึกษาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา เกิดการพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่องานบริหารหรือด้านประกอบการเรียนการสอน ที่ได้ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาพัฒนาโรงเรียนประถม มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าหลังจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในการศึกษา งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการทั้งในเชิงบวกและเชิงลบโดยการวิจัยทำการวิเคราะห์ถึงกระบวนการและลักษณะในการใช้งานเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของผู้บริหารสถานศึกษา

ประเภทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลวิชาการ ข้อมูลด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และอื่นที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3.ผู้บริหารสถานศึกษา สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนค้นหาข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆเป็นต้น
จากข้อมูลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญในรูปแบบที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก

ลักษณะความแตกต่างของพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในยุคสมัยใหม่มีบทบาทกับวงการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการระบบการติดต่อสื่อสารทางการศึกษา ในสถานศึกษาโดยตรง เช่น การรับส่งข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาที่มาจากส่วนกลางให้กระจายไปยังสถานศึกษาต่างๆ ที่มีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร และมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดแนวทางและกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไปแต่ละสถานศึกษา ว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ในการจัดระบบอินเทอร์เน็ต ในการบริหารจัดการและเปรียบเทียบความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาต่างๆล้วนมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย แต่ในส่วนของการใช้งานล้วนมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งมีความพร้อมในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาสถานศึกษา พัฒนาการบริหารงานบุคคล การเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน รวมไปถึงการค้นคว้าหาข้อมูลในการเรียนการศึกษาเพิ่มเติมของนักเรียนนักศึกษาอีกด้วย

ที่มา http://www.oknation.net/blog/itsarakub/2009/07/08/entry-1

วิวัฒนาการการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

ในปัจจุปันการใช้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตประจำวั นมากขึ้น และใช้งานกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นที่จะต้องติดต่อสื่อสาร อินเตอร์เน็ตจึงได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ รองรับการสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้จดหมายอินเล็กทรอนิกส์ การติดต่อด้วยเสียง ระบบ VDO Conference การใช้โทรศัพท์บนเครือข่าย ซึ่งก็มีวิวัฒนาการตามลำดับเบื้องต้นดังนี้

E-mail
หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้บางคนคิดว่า
E-mail คือ อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตคือ E-mail วิธีใช้งานอีเมลล์ก็ง่ายและมีประโยชน์มาก การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ (หมายถึงระบบที่ใช้กระดาษในการเขียนจดหมาย) กล่าวคือในระบบไปรษณีย์ปกติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การรับส่งจดหมายคือเป็นบรุษไปรษณีย์ (ในกรณีของประเทศไทยคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย) ถ้าเป็นในอินเตอร์เน็ตสิ่งที่ทำหน้าที่คอยรับส่งจดหม ายคือบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น E-mail Server (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กท รอนิคส์)

Chat
คือ การส่งข้อความสั้นๆ ระหว่างบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาเดี ยวกัน และสามารถเขียนโต้ตอบกันไปมาคล้ายกับการคุยกัน ซึ่งก็ได้มีการพัฒนโปรแกรมสำหรับหาร Chat ออกมามากมายที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายก็ค ือ MSN Messengerและสิ่งหนึ่งที่มีการพัฒนาต่อมา คือระบบการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย IP ที่เรียกว่า เทคโนโลยี Voice over IP หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “VoIP” จนสามารถใช้ งานได้ดีขึ้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีความสะดวกมากที่สุด VoIP ถูกเริ่มต้นใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนา ระหว่างกัน ได้ รวมถึงการสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานอีกด้วยโดยไม่เสียค่าบริการแต่อย่างได และคุณภาพของบริการก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเทียบ
เท่าระบบ โทรศัพท์พื้นฐาน
ซึ่ง VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC to PC )PC มีการติดตั้ง sound card และไมโครโฟน ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย IP การประยุกต์ใช้ PC และ IP-enabled telephones สามารถสื่อสารกันได้แบบจุดต่อจุด หรือ แบบจุดต่อหลายจุด โดยอาศัย software ทางด้าน IP telephony
2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง โทรศัพท์พื้นฐาน ( PC to Phone )เป็นการเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์เข้ากับ เครือข่าย IP ทำให้โดยอาศัย Voice trunks ที่สนับสนุน voice packet ทำให้สามารถใช้ PC ติดต่อกับ โทรศัพท์ระบบปกติได้
3. โทรศัพท์กับโทรศัพท์ ( Telephony )เป็นการใช้โทรศัพท์ธรรมดา ติดต่อกับโทรศัพท์ธรรมดา แต่ในกรณีนี้จริงๆแล้วประกอบด้วยขั้นตอนการส่งเสียงบ นเครือข่าย Packet ประเภทต่างๆซึ่งทั้งหมดติดต่อกันระหว่างชุมสายโทรศัพ ท์ (PSTN) การติดต่อกับ PSTN หรือ การใช้โทรศัพท์ร่วมกับเครือข่ายข้อมูลจำเป็นต้องใช้ gateway

ที่มา http://www.monavista.com/webboard/showthread.php?t=3685
__________________

การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต

การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้
1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมากเพียงเท่ากับค่าโทรศัพท์เท่านั้น

2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web: www.)
เป็นการสื่อสารที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลแบบกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ข้อมูลต่างๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ Hypertext Link
การที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ ผู้ใช้จะต้องมี Web Browser ซึ่งนิยมใช้กันในขณะนี้ได้แก่ Netscape Navigator และ Internet Explorer ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กิจกรรมอื่นไว้ภายใน World Wide Web ด้วย อาทิ การโฆษณากิจกรรม รวมถึงความบันเทิงต่างๆ เช่น การดูหนังฟังเพลง และชมรายการต่างๆ ทางสถานีโทรทัศน์
เช่น www.yahoo.com
www.google.co.th
www.hotmail.com

3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP)
เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่างๆ จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP Site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้บริการ
การเข้าไปขอถ่ายโอนข้อมูลนั้น ผู้ใช้ต้องทราบชื่อเครื่องที่ตั้งเป็น FTP Server และสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำ FTP

4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet)
มีที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศคือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telenet)
เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือ สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk ซึ่งเป็นการพิมพ์โต้ตอบระหว่างคนสองคน Internet phone เป็นการคุยกันด้วยเสียงแบบเดียวกับโทรศัพท์ และ IRC (Internet Relay Chat)


7. บริการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต
เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของข้อความสั้นๆ (Short Message) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์สื่อสารประเภทไร้สาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเพจเจอร์ เป็นต้น

8. Remote Login
เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน Telenet เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล และคอมพิวเตอร์นั้นค้นหาสารสนเทศ แหล่งบริการสารสนเทศ เช่น รายการบัตรของห้องสมุด (Online Public Access Catalog: OPAC) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย

ที่มา http://regelearning.payap.ac.th/docu/th203/content/oninter.htm

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต สรุปได้โดยสังเขปดังนี้
1) การบริการทางธุรกิจ : อินเตอร์เน็ตเป็นลู่ทางใหม่ทางการค้า เพราะผู้ขายสามารถประกอบธุรกิจทางการค้าผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ลูกค้าสามารถชมภาพ และรายละเอียดของสินค้าเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันที ณ เครื่องของลูกค้าเอง ผู้ขายเพียงแค่จัดเตรียมข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ของตน ก็สามารถบริการขายลูกค้าได้ทั่วโลกพร้อม ๆ กัน โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการประชาสัมพันธ์มากเท่าวิธีอื่น สามารถซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง เพียงแต่ลูกค้าจะต้องมีบัตรเครดิต เมื่อสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ก็กรอกหมายเลขบัตร แล้วระบุสินค้าที่ต้องการ จากนั้นสินค้าจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์ และเงินจะถูกหักจากบัญชีเครดิต
2). การบริการข้อมูลข่าวสาร : ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญไม่ว่าเรื่องใด ๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ของตนไปยังผู้คนทั่วโลกได้โดยง่าย เช่น ถ้ามีความชำนาญในการสอนนวดแผนไทย ก็สามารถนำข้อมูลการสอนนวดฯ พร้อมกับภาพประกอบไปใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้คนที่สนใจอาหารไทยทั่วโลกได้รับทราบอย่างง่ายดาย ในทางกลับกันก็สามารถค้นหาข้อมูลได้แทบทุกชนิดจากอินเตอร์เน็ต โดยอาจจะอาศัยเครื่องมือค้นหาในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและมีให้เลือกมากมาย
3) การพบปะและสนทนากับผู้คน : สามารถส่งจดหมายที่เรียกว่า "อีเมล์ (Electronic Mail : e-mail)" หรือพิมพ์ประโยคโต้ตอบกับผู้คนที่อยู่กันคนละซีกโลกได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถคุยโต้ตอบผ่านอินเตอร์เน็ตในลักษณะโทรศัพท์ไปทั่วโลกโดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ได้อีกด้วย หรือคุยกันผ่านเว็บแคม เห็นหน้า ได้ยินเสียงแบบเรียลไทม์ก็ได้
4) การบริการซอฟต์แวร์ : ในอินเตอร์เน็ตมีบริการซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยให้ได้ใช้ และสามารถโอนย้ายซอฟต์แวร์จากอินเตอร์เน็ตมาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วยมีทั้งแบบที่ให้ทดลองใช้ก่อน แบบให้ใช้ฟรี และแบบที่ต้องเสียเงิน
5) ความบันเทิง : มีความสามารถในการนำเสนอความบันเทิงรูปแบบต่างๆ เช่น เพลง รายการวิทยุ เกมส์ ได้6) การศึกษา ในระบบการศึกษาได้นำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการศึกษามากขึ้น ทั้งช่วยในการสืบค้นข้อมูลและในการเรียนการสอนด้วยทั้ง E-libaray, E-learning

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=253fa1fddbd9ac90

โทษของอินเตอร์เน็ต


1.โรคติดอินเตอร์เน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต

*รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
*มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
*ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
*รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
*ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
*หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
*การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
*มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
*ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

*รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
*มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
*ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
*รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
*ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
*หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
*การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
*มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
*ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/else.html

ใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ตและบริการต่างๆในอินเตอร์เน็ต

"ใครเป็นเจ้าของ อินเตอร์เน็ต"

ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลทิศทางของอินเทอร์เน็ตโดยรวมคือ "สมาคมอินเทอร์เน็ต" (Internet Society) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆภายใน สมาคมอีกทีหนึ่ง ในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ กลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและในปัจจุบันเป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตในอนาคต



บริการต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต
ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละ เครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต ์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีมากมาย ทั้งบริการด้านการสื่อสาร , บริการด้านข้อมูล

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/whom.html

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/service.html

กลไกการทำงานของ SLIP/PPP

ทั้ง 2 Protocol จำเป็นต้องใช้เมือเราเชื่อมต่อโดยการใช้วิธี DialUP ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยจะต้องใช้เป็นตัวสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งเพราะการที่เราจะเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้นั้นจำเป็น จะต้องมีหมายเลขอ้างอิงประจำตัว IP address ซึ่ง PPP และ SLIP จะเป็นตัวกำหนดให้เอง วิธีการทำงานจะมีดังนี้
1.เมื่อผู้ใช้ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอเน็ตจะต้องใช้ โปรแกรมประเภท TCP/IP Protocol Stack โปแกรมนี้จะใช้สำหรับหมุนเบอร์โทรศัพท์ไปยังเบอร์ของผู้ใช้บริการอินเทอเน็ต ISP กำหนดไว้
2.เมื่อเครื่องserver ของ isp ได้ตอบรับการติดต่อก็จะเชื่อมเครื่อข่ายของหน่วยงานดังกล่าวตามคำสั่งต่างๆ ที่ตั้งเป็นสคริปต์ไว้ล่วงหน้าแล้วในโปรแกรม Dial
3.ในการเชื่อมต่อกันจะมีการส่งข้อมูลคำสั่งเชื่อมต่อ และเริ่มเข้าสู่การติดต่อโดยโปรโตคอล SLIP หรือ PPP ตามที่ได้กำหนดไว้ทั้งสองฝั่ง ในขั้นตอนนี้จะมีการส่งข้อมูลเช่น IP address ของผู้ขอใช้บริการ (ซึ่งมีความจริง จะถูกกำหนดขึ้นใหม่ในตอนนี้เอง) และDomain Name Server (DNS) address เป็นต้น
4.หลังจากข้อมูลต่างๆ ได้รับส่งกันเสร็จสิ้นแล้วในขั้นตอนนี้จะถือได้ว่าเชื่อมต่อกันเสร็จแล้ว ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลในรูปแบบของ Internet Protocol (IP) Packet กันได้หรือพูดภาษาชาว บ้านว่าสามารถใช้บริการอินเทอเน็ตได้แล้ว



















ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/slip.html