ปฏิทินของฉัน

gestbook

ประวัติขันโตกของภาคเหนือ

ประวัติขันโตก
ประวัติ/ความเป็นมา

ประเพณีเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา การเลี้ยงแขก โดยการกินข้าวขันโตก อาจมีหลายชื่อที่เรียกขานกัน เช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตก หรือเรียกสั้นๆ ว่า ประเพณี ขันโตก หรือสะโตก ซึ่งเป็นภาชนะที่ทำด้วยไม้นำมากลึงให้เป็นลักษณะกลมเป็นรูปถาด ถ้าเป็นขันโตกขนาด เล็กจะมีขนาดประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว ขนาดใหญ่ประมาณ ๒๐ นิ้ว ถ้าเป็นขันโตกสำหรับเจ้า นายฝ่ายเหนือหรือคหบดีก็ดัดแปลงให้หรูหราขึ้นตามฐานะ บ้างก็ใช้เงินทำหรือ "ทองกาไหล่" หรือไม่ก็ลงรัก ปิดทอง
ในสมัยก่อน ชาวเหนือนิยมรับประทานอาหารกับพื้น เมื่อแม่บ้านทำกับข้าวเสร็จเรียบร้อย แล้ว ก็จะยกออกมาตั้งโตก โดยในขันโตกนั้นจะมีกับข้าวพร้อม และเมื่อรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้วก็ยก ไปเก็บทั้งโตก เป็นการประหยัดเวลาในการจัดและเก็บ ถือเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อ กันมาก่อนที่จะรับเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งเปลี่ยนมานั่งโต๊ะแบบชาวตะวันตก แต่การเลี้ยงขันโตกก็ยังได้ รับความนิยมและใช้เลี้ยงรับรองผู้มาเยือนอยู่เสมอๆ
จุดมุ่งหมายของการกินข้าวขันโตกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนามาจากสมัยก่อน โดยถือว่า นอกจากเป็นการเลี้ยงดูแขกที่มาเยือนให้ดูหรูหราสมเกียรติ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจใน การต้อนรับแล้วยังมีการประยุกต์เอาวิธีการเลี้ยงดูแขกให้มีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มสีสันของการ จัดงานให้ยิ่งใหญ่ดูวิจิตรพิสดาร เพียบพร้อมด้วยบรรยากาศของเมืองเหนือจริงๆ การประดับประดาเวทีด้วย ดอกไม้ต้นไม้ให้ดูผสมกลมกลืนกันไป การตระเตรียมขั้นตอนการดำเนินงานเลี้ยงข้าวขันโตกให้เป็นพิธีการที่ หรูหรา ประณีต งดงามมีศิลปะต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างบรรยากาศเลี้ยงดูแขกเหรื่อให้ประทับใจ และเป็นการยกย่องแขกทั้งสิ้น
จะเห็นว่า การกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้น นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงน้ำใจ ต้อนรับแขกและให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนแล้วในปัจจุบัน ก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บาง ท้องถิ่นก็จัดงานเลี้ยงขันโตกเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน ฟื้นฟูการแต่งกายแบบ พื้นเมือง การทำอาหารพื้นเมือง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วย บางแห่งก็จัดงาน ข้าวขันโตกเพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น


กิจกรรม/พิธี
งานจะเริ่มจากการร่วมแรงร่วมใจกันตระเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ตลอดไปจนสถานที่ โดยจะประดับเวที ฉาก และการแสดงบนเวที สำหรับสถานที่นิยมจัดที่กลางแจ้ง เช่น สนามหญ้าต่างๆ แล้วนำเสื่อมาปู ส่วนมากเป็นเสื่อยาวๆ จะนั่งกันประมาณ ๕ - ๖ คน มีขันโตกตั้งอยู่ตรงกลาง ในขันโตก ส่วนมากก็มีอาหารประมาณ ๕ อย่าง ตัวอย่างเช่น แกงอ่อม แคบหมู ชิ้นปิ้ง น้ำพริกอ่อง ผักสด แกงฮังเล และที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเหนียว หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า ข้าวนึ่ง ข้าวนึ่งของชาวเหนือต้องอาศัยทักษะและ ความรู้ในการทำพอสมควร คือ เริ่มจากนำข้าวไปแช่ เรียกว่า การหม่าข้าวไว้ ๑ คืน ในหม้อข้าวหม่า (หม้อที่ ใช้สำหรับแช่ข้าวเหนียว) ซึ่งก่อนที่จะนึ่งต้องซาวข้าวด้วยการใช้ ซ้าหวด (คือ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับ ใส่ข้าวเหนียวเอาไปล้างน้ำให้สะอาดก่อนที่จะนำไปนึ่ง) การนึ่งจะต้องใช้ไหข้าวมีฝาปิดมิดชิดให้ข้าวสุกดีขึ้น แล้วยกลงมานำมาวางในภาชนะที่เรียกว่า กั๊วะข้าว หรือถาด ต้องคอยคนให้ไอน้ำในข้าวระเหยออกไปบ้าง และคอยระวังไม่ให้ข้าวแฉะหรือข้าวแข็งหรือสุกไม่ทั่วกัน เมื่อข้าวสุกดีน้ำระเหยไปบ้างแล้ว ก็นำข้าวไปใส่ กระติ๊บบ้าง หรือที่ทางเหนือเรียกว่า แอ๊บ หรือก่องข้าว ซึ่งนิยมสานด้วย
สำหรับงานเลี้ยงข้าวขันโตก จะมีกระติ๊บข้าวนึ่งขนาดใหญ่โตมากอีกกระติ๊บหนึ่ง เรียกว่า กระติ๊บหลวง มีลักษณะเหมือนกระติ๊บทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้องใช้คนหามเข้าขบวนแห่นำขบวน ขันโตก มีขบวนสาวงามช่างฟ้อนนำขบวนขันโตกเข้ามาในงานผสมกับเสียงดนตรีเสียงโห่ร้องแสดงความยินดี เมื่อสาวงามช่างฟ้อนมาถึงงานเลี้ยงแล้ว ก็จะนำกระติ๊บหลวงไปวางไว้กลางงาน และนำข้าวนึ่ง ในกระติ๊บหลวง แบ่งใส่กระติ๊บเล็กๆ แจกจ่ายไปตามโตกต่างๆ จนทั่วบริเวณงาน ซึ่งมีโตกกับข้าวเตรียมไว้ก่อนแล้ว
การนั่งรับประทานอาหารในงานขันโตก จะนั่งกับพื้นบนสาดเติ้ม (เสื่อไม้ไผ่สาน) หรือจะนั่ง รับประทานขันโตกบนพื้นไม้ที่ยกพื้นขึ้นมาในระดับเวทีก็ได้
ผู้ที่มาร่วมงานทุกคนแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองเหนือ เช่น ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้า ขาวม้าคาดเอว มีพวงมาลัยดอกมะลิคล้องคอ ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุงยาวถึงตาตุ่ม สวมเสื้อแขนกระบอก ทัดดอกไม้ที่หู หรือคล้องพวงมาลัยดอกมะลิ
นอกจากอาหารคาว ยังมีอาหารหวานที่นิยมเลี้ยงกันในงานขันโตก เช่น ขนมปาด ข้าวแตน ข้าวควบ มีน้ำต้นคนโท ขันน้ำสำหรับล้างมือก่อนหยิบข้าวนึ่ง มีกระโถนใส่เศษอาหาร และเมี่ยง บุหรี่ไว้สำหรับ แขกเหรื่อที่มาร่วมงาน บุหรี่ที่ใช้ คือ บุหรี่ขี้โย เป็นบุหรี่ยาเส้น นำมามวนใบตอง ชาวบ้านนิยมสูบกันทั่วไป เมี่ยง คือ ใบชานำมาหมักให้ได้ที่ใช้อมกับเกลือ มีรสเปรี้ยว ๆ อมเรียกน้ำลายเพื่อความชุ่มคอ
สำหรับบรรยากาศที่น่าประทับใจของงานนี้ คือ จะให้แสงสว่างบนเวทีจากไฟตะเกียง หรือแสงเทียน บนโตกมีการจุดเทียน ๒ - ๓ เล่ม ให้พอมองเห็นหน้ากันเท่านั้น บนเวทีมีการตกแต่งประดับประดาให้เข้าบรรยากาศเมืองเหนือ และมีวงดนตรีอยู่ที่มุมหนึ่งของเวที ในขณะที่แขกเหรื่อกำลัง รับประทาน อาหารก็มีการบรรเลงดนตรีขับกล่อมตลอดเวลาสลับกับการแสดงบนเวที และส่วนมากนิยมเอาศิลปะการ ฟ้อนรำแบบชาวเหนือมาแสดงบนเวที สลับกับการแสดงดนตรีพื้นเมือง เช่น ชุดการแสดงฟ้อนสาวไหม ฟ้อนตาว (ฟ้อนดาบ) ฟ้อนเทียน
การจัดงานประเพณีกินข้าวแลงที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมของ ชาวเหนือเข้ามาผสมผสานให้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น เช่น มีการประกวดโคมลอย การประกวดจิบอกไฟ (จุดบอกไฟ) หรือจุดพลุในยามค่ำคืนให้ดูสวยงาม เพิ่มสีสันให้แก่งานอย่างมาก
งานประเพณีต้อนรับแขกชาวเหนือ เป็นงานประเพณีที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยภาค เหนือ เป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิมให้สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศ ในการต้อนรับให้อบอุ่น ประทับใจแก่ผู้มาเยือนยากที่จะลืมเลือน




ที่มา 1.http://61.19.145.8/student/web42106/501/501-0410/intro.html
2.http://www.youtube.com/watch?v=v0hUWfNvKvU

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น